ข้ามไปเนื้อหา

ศรินทิพย์ ศิริวรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ
ศรินทิพย์ ในภาพยนตร์เรื่อง โรงแรมนรก (2500)
เกิดไพลิน คอลลิน
19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469
อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
สาบสูญ3 ธันวาคม พ.ศ. 2530 (ผ่านมาแล้ว 36 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สถานะปิดคดี
อาชีพนักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์
คู่สมรสจำเนียร รัศมี
ชาลี อินทรวิจิตร
อาชีพแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2489–2530
ผลงานเด่นเรียม – โรงแรมนรก (2500)
หม่อมแม่ – บ้านทรายทอง (2523)
รางวัล
พระสุรัสวดีนักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม
ขบวนเสรีจีน (2502)
ลูกอีสาน (2525)
นักแสดงตลกหญิงยอดเยี่ยม
ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท (2529)
ฐานข้อมูล
ThaiFilmDb

ศรินทิพย์ ศิริวรรณ นักแสดงหญิงอาวุโส ผู้เคยรับบทนำในภาพยนตร์ โรงแรมนรก ของ รัตน์ เปสตันยี คู่กับชนะ ศรีอุบล และสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ เคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 3 ครั้ง เป็นรางวัลนักแสดงประกอบหญิง 2 ครั้ง จากเรื่อง ขบวนเสรีจีน (2502) และ ลูกอีสาน (2525)[1] และรางวัลตลกหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท (2529)[1] ระยะหลังหันมาแสดงละครโทรทัศน์ เนื่องจากเป็นดาราหน้าตาย ไม่ค่อยยิ้ม จึงมักได้รับบทแม่ บทที่เป็นที่จดจำคือ บทหม่อมแม่ ของคุณชายกลาง ในเรื่องบ้านทรายทอง ฉบับจารุณี สุขสวัสดิ์-พอเจตน์ แก่นเพชร

ประวัติ

[แก้]

ศรินทิพย์ มีชื่อจริงว่า ไพลิน คอลลิน เกิดที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 [2][3] บิดาเป็นชาวเนเธอร์แลนด์ จบการศึกษาจากโรงเรียนผดุงดรุณี แล้วไปสมัครเป็นนักร้องของวงดนตรีกรมสรรพสามิต และได้พบรักกับชาลี อินทรวิจิตร นักแต่งเพลง และแต่งงานกัน

ชาลี อินทรวิจิตร ได้นำเธอไปฝากฝังกับ อรรถ อรรถไกวัลวที ผู้จัดการคณะละครเทพศิลป์ ซึ่งชักนำเข้าสู่วงการ และตั้งชื่อให้ว่า "ศรินทิพย์ ศิริวรรณ"[3] ได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง ฟ้าแลบบนสาปไตย เป็นเรื่องแรกในปี พ.ศ. 2497

เรื่องราวชีวิตที่ยากลำบากของศรินทิพย์ ช่วง พ.ศ. 2486 - 2487 ก่อนจะได้พบกับชาลี อินทรวิจิตร เคยถูกสร้างเป็นละครวิทยุจนโด่งดัง ชื่อเรื่อง ม่านน้ำตา และนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ กำกับโดย เนรมิต นำแสดงโดย เพชรา เชาวราษฎร์ รับบทเป็นศรินทิพย์ วิไลวรรณ วัฒนพานิช รับบทเป็นแม่ และอนุชา รัตนมาลย์ รับบทสามีเก่าของศรินทิพย์ เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์คาเธ่ย์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505[3] ปรากฏว่า อำนวย กลัสนิมิ และ ศรินทิพย์ ถูกสามีเก่าของเธอฟ้องหมิ่นประมาทจนเป็นเรื่องราวโด่งดัง คดีนี้จบลงโดยศาลไกล่เกลี่ย ผู้กำกับยินยอมประกาศขอขมานายจำเนียร รัศมี ทางหน้าหนังสือพิมพ์[3] จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ชาลี อินทรวิจิตร ได้แต่งเพลงชื่อ ไม่อยากให้โลกนี้มีความรัก ขับร้องโดย สวลี ผกาพันธุ์[3]

การหายสาบสูญ

[แก้]

วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ศรินทิพย์มีกำหนดเข้าฉากภาพยนตร์เรื่อง อีจู้กู้ปู่ป้า กำกับโดยกำธร ทัพคัลไลย ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน เวลาประมาณ 20.00 น. ศรินทิพย์ โดยสารรถแท็กซี่ไปยังห้างเดอะมอลล์ รามคำแหง โดยกล่าวกับคนที่บ้านว่า ไปพบใครบางคนที่ชื่อ "จำนงค์" เพื่อคุยเรื่องค่าตัวจากการถ่ายแบบปฏิทินวันปีใหม่ นั่นคือครั้งสุดท้ายที่มีผู้พบเห็น ข้อสันนิษฐานที่บ่งบอกว่าศรินทิพย์อาจถูกลักพาตัวไป ได้แก่ มีพยานเห็นว่า ศรินทิพย์ มายืนรอที่บริเวณหน้าฟาสต์ฟู้ดหน้าห้างย่านรามคำแหง เวลา 20.00-20.30 น. จากนั้นได้มีชายขับรถโตโยต้า ดีเอ็กซ์ สีเทา ไม่ทราบทะเบียน โดยใส่เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว ผ้าพันคอสีเหลืองหรือสีไข่ไก่ มารับขึ้นรถไป การหายตัวไปของเธอทำให้ชาลี อินทรวิจิตร สามี แต่งเพลง "เมื่อเธอจากฉันไป" ขับร้องโดย พรพิมล ธรรมสาร โดยใช้ทำนองของเพลง "ออบรี" ของเดวิด เกตต์ รวมถึงเพลงเทวดาเดินดิน ก็ได้ชาลี อินทรวิจิตร เป็นผู้แต่ง โดยพูดถึงเนื้อหาการสาบสูญของศรินทิพย์

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]
  • 2497: ฟ้าแลบบนสาปไตย
  • 2498: โบตั๋น
  • 2498: น้ำใจสาวจีน
  • 2498: สลัดดำ
  • 2499: ยิงทิ้ง
  • 2499: นางใบ้
  • 2499: เศรษฐีอนาถา
  • 2499: หงส์หยก
  • 2500: โรงแรมนรก
  • 2501: เจ็ดแหลก
  • 2501: หนึ่งต่อเจ็ด
  • 2501: ขบวนเสรีจีน
  • 2501: สั่งอินทรีย์ขาวถล่มกรุง
  • 2502: จ้าวนักเลง
  • 2502: สิบสองนักสู้
  • 2503: ร้ายก็รัก
  • 2503: แสงสูรย์
  • 2503: ค่าน้ำนม
  • 2503: ฟูแมนจู
  • 2503: ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งเก้า
  • 2504: แพรดำ
  • 2504: รุ้งเพชร
  • 2504: รักสลักจิต
  • 2504: กระท่อมทิพย์
  • 2504: มหาเวสสันดร
  • 2504: เยี่ยมวิมานรัก
  • 2505: สิงห์เดี่ยว
  • 2505: ดอกแก้ว
  • 2505: ดอกหญ้า
  • 2505: นันทาวดี
  • 2505: ม่านน้ำตา
  • 2505: สกาวเดือน
  • 2505: สุริยาที่รัก
  • 2505: ยอดขวัญจิต
  • 2506: 7สมิง
  • 2506: มัตติกา
  • 2506: อำนาจมืด
  • 2506: เอื้อมเดือน
  • 2506: สิงห์สั่งป่า
  • 2506: รวงแก้ว
  • 2507: ทับทิม
  • 2507: ลูกทาส
  • 2507: เลิศชาย
  • 2507: กฎหมายป่า
  • 2507: น้ำตาลไม่หวาน
  • 2508: ใจฟ้า
  • 2508: น้องนุช
  • 2508: ปลาบู่ทอง
  • 2508: หมอกสวาท
  • 2508: เลือดนอกอก
  • 2508: ฆ่ายัดกล่อง
  • 2508: นางสาวโพระดก
  • 2509: เพื่อนรัก
  • 2509: อ้ายค่อม
  • 2509: ปีศาจดำ
  • 2509: เกิดเป็นหงส์
  • 2509: กระเบนธง
  • 2509: ในม่านเมฆ
  • 2509: พิมพิลาไลย
  • 2509: แก้วกลางสลัม
  • 2509: ดาวพระศุกร์
  • 2509: ผู้ชนะสิบทิศ ตอน ยอดขุนพล
  • 2510: ปิ่นรัก
  • 2510: 7 พระกาฬ
  • 2510: ภูพานอย่าร้องไห้
  • 2510: ผู้ชนะสิบทิศ ตอน บุเรงนองลั่นกลองรบ
  • 2510: ผู้ชนะสิบทิศ ตอน บุเรงนองถล่มหงสาวดี
  • 2511: จั๊กจั่น
  • 2511: ดอกอ้อ
  • 2511: แสนพยศ
  • 2511: ไอ้หนึ่ง
  • 2511: ทรายแก้ว
  • 2511: มรกตแดง
  • 2512: สายใจ
  • 2512: ปราสาททราย
  • 2512: รักยม
  • 2512: ความรักเจ้าขา
  • 2513: กายทิพย์
  • 2513: จุ๊บแจง
  • 2513: กิ่งแก้ว
  • 2514: สื่อกามเทพ
  • 2514: เหนือพญายม
  • 2515: สวนสน
  • 2516: ขอบฟ้าเขาเขียว
  • 2517: ประทีปอธิษฐาน
  • 2517: ใครจะร้องไห้เพื่อฉัน
  • 2518: ผยอง
  • 2518: โซ่เกียรติยศ
  • 2520: แผลเก่า
  • 2520: เมียหลวง
  • 2521: เกวียนหัก
  • 2521: ขอเช็ดน้ำตาให้ตัวเอง
  • 2521: ผีเพื่อนรัก
  • 2522: ดาวเรือง
  • 2522: ลูกทาส
  • 2522: โอ้กุ๊กไก่
  • 2522: อยู่กับก๋ง
  • 2522: ฝนตกแดดออก
  • 2523: บ้านทรายทอง พจมาน สว่างวงศ์
  • 2523: กิ่งทองใบตำแย
  • 2523: เสียงซึงที่สันทราย
  • 2523: เมียจำเป็น
  • 2524: รักข้ามคลอง
  • 2524: ผึ้งแตกรัง
  • 2524: แม่กาวาง
  • 2524: นางสาวโพระดก
  • 2524: เสือมังกร
  • 2524: ยอดดรุณี
  • 2524: สายใจ
  • 2524: ดาวพระศุกร์
  • 2524: ลูกสาวแม่ค้า
  • 2524: ทัดดาวบุษยา
  • 2524: ชายสามโบสถ์
  • 2524: เมียสองต้องห้าม
  • 2525: ดาวเคียงเดือน
  • 2525: ลูกอีสาน
  • 2525: ไอ้หนึ่ง
  • 2525: สัตว์สาวผู้น่ารัก
  • 2525: หลวงตา ภาค 2
  • 2525: กระท่อมนกบินหลา
  • 2525: ไอ้ผาง ร.ฟ.ท.
  • 2525: คุณรักผมไหม
  • 2525: สวัสดีไม้เรียว
  • 2525: แม่แตงร่มใบ
  • 2525: พระเอกรับจ้าง
  • 2525: เต้าฮวยเกศทิพย์
  • 2525: เทพธิดาโรงงาน
  • 2525: ปริศนา
  • 2525: แรงรัก
  • 2526: แม่ดอกกระถิน
  • 2526: เลขาคนใหม่
  • 2526: สงครามปาก
  • 2526: จ้าวภูผา
  • 2526: นิจ
  • 2526: บัวขาว
  • 2526: กำนันสาว
  • 2526: สามอนงค์
  • 2526: รักกันวันละนิด
  • 2526: เพลงรักก้องโลก
  • 2526: มัทรีที่รัก
  • 2526: ไอ้แก้วไอ้ทอง
  • 2526: ไอ้ป.4 (ไม่มีเส้น)
  • 2526: เขยสี่ทิศ
  • 2526: มายาพิศวาส
  • 2527: น.ส.ลูกหว้า
  • 2527: รักของปรัศนีย์
  • 2527: 100 เสน่หา
  • 2527: คุณนาย ป.4
  • 2527: ขาวผ่องเจ้าสังเวียน
  • 2527: เลดี้ฝรั่งดอง
  • 2527: ที่รักจ๋า
  • 2527: คาดเชือก
  • 2527: ไอ้จอมเก
  • 2527: รักต้องโกย
  • 2527: สาวนาสั่งแฟน
  • 2527: เฮฮาเมียนาวี
  • 2527: แรงอธิษฐาน
  • 2527: ยันต์สู้ปืน
  • 2527: วันนั้นคงมาถึง
  • 2527: ลูกสาวคนใหม่
  • 2527: ขอโทษที ที่รัก
  • 2528: ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด
  • 2528: ที่รัก เธออยู่ไหน
  • 2528: เขยบ้านนอก
  • 2528: รัตนาวดี
  • 2528: นวลฉวี
  • 2528: ยอดรักยอดพยศ
  • 2528: วัยเรียนเพี้ยนรัก
  • 2528: หลานสาวเจ้าสัว
  • 2528: ตำรวจบ้าน
  • 2529: ลูกสาวเถ้าแก่เฮง
  • 2529: สะใภ้
  • 2529: สะแกกรัง
  • 2529: แม่ดอกรักเร่
  • 2529: ยุ่งนักรักซะเลย
  • 2529: เครื่องแบบสีขาว
  • 2529: ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท
  • 2529: ท่านชายกำมะลอ
  • 2529: ขบวนการคนใช้
  • 2529: คู่วุ่นวัยหวาน
  • 2529: วันนี้ยังมีรัก
  • 2529: เมียแต่ง
  • 2530: ไฟเสน่หา
  • 2530: คู่สร้างคู่สม
  • 2530: ผู้พันเรือพ่วง
  • 2530: ผู้ชายป้ายเหลือง
  • 2530: วอนเพลงฝากรัก
  • 2530: สะใภ้เถื่อน
  • 2530: เมียคนใหม่
  • 2530: พรหมจารีสีดำ
  • 2530: ร่านดอกงิ้ว
  • 2530: ปีกมาร
  • 2530: วงศาคณาญาติ
  • 2530: ไฟหนาว
  • 2531: อีจู้กู้ปู่ป้า
  • 2531: ผัวใครก็ช่าง
  • 2531: ทายาทคนใหม่
  • 2531: สองเกลอเจอทีเด็ด
  • 2531: รักฤๅเสน่หา
  • 2531: ภุมรีสีทอง
  • 2531: วิวาห์ไฟ

ผลงานละครโทรทัศน์

[แก้]

ผลงานการสร้างภาพยนตร์

[แก้]
  • 2514: สื่อกามเทพ
  • 2515: สวนสน
  • 2516: ขอบฟ้าเขาเขียว
  • 2517: ใครจะร้องไห้เพื่อฉัน
  • 2517: ประทีปอธิษฐาน
  • 2521: ขอเช็ดน้ำตาให้ตัวเอง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 หนึ่งเดียว. พิพิธภัณฑ์หนังไทย ฉบับ "ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ป็อปคอร์น, พ.ศ. 2549. หน้า 328. ISBN 974-94228-8-0
  2. แหล่งอ้างอิงระบุปีเกิด และสถานที่เกิดไม่ตรงกัน
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 โรม บุนนาค. แวดวงบันเทิงเมื่อวันวาน สุดยอดเรื่องเด็ดในวงการบันเทิงไทยตั้งแต่ยุคเริ่มหนังไทย. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2551. 232 หน้า. ISBN 978-974-06-6637-0

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]